WHAT'S NEW?
Loading...

กะเพราแดง ราชินีแห่งสมุนไพร ช่วยลดความเครียด ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม


Advertisements


กะเพราแดง ราชินีแห่งสมุนไพร ช่วยลดความเครียด ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม

กะเพราแดง ชื่ออื่นๆ : กอมก้อ กอมก้อขาว กอมก้อดำ กะเพราขน กะเพราะดำ ฯลฯ กะเพรา เป็นทั้งอาหารและยาชั้นเลิศ ที่มีใช้ทางการแพทย์อายุรเวทมายาวนานกว่า 5,000 ปี และยกย่องให้เป็นราชินีแห่งสมุนไพร กะเพราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และกะเพราแดง 

โดยกะเพราแดงมีกลิ่นฉุนกว่า เพราะมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า นิยมใช้ทำยา การนำกะเพรามาใช้ ทำได้ง่ายๆ เพียงใช้ใบ ยอด ต้นสด หรือแห้งต้ม/ปั่นดื่ม วันละ 1-3 แก้วเป็นประจำดีต่อสุขภาพร่างกาย

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

1. ช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และอาการซึมเศร้าได้ มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า กะเพรามีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับ และยังมีงานวิจัยในคนที่เป็นโรควิตกกังวล ให้กินสารสกัดกะเพรา 500 มก. วันละ 2 เวลา หลังอาหารเช้าเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน พบว่าช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และอาการซึมเศร้าได้ 

2. ช่วยป้องกันการขุ่นของแก้วตา ฟื้นฟูจอประสาทตาและการมองเห็น มีการศึกษาในหนูทดลอง ที่ตาเสื่อมจากเบาหวาน หลังได้รับวิตามินอี และสารสกัดกะเพราแดง เป็นเวลา 16 สัปดาห์ พบว่าการบวมของจอประสาทตา ภาวะเลือดออกที่จอประสาทตา รวมถึงไขมันที่รั่วออกจากเส้นเลือดในจอประสาทตาได้หายไปหมด มีการฟื้นคืนกลับของจอประสาทตาและมีการมองเห็นที่ดีขึ้น 

3. ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ปวดท้อง ใช้ใบสด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม หรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มให้เดือด เอาแต่น้ำดื่ม หรือจะใช้ใบกะเพราะแห้ง ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผงให้ชงกับน้ำรับประทาน ในเด็กอ่อนใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา 

4. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ (ประมาณ 25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม 

5. แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆ สะดือ 

6. เพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ 7. รักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย 

** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน ** 


อ้างอิง...มูลนิธิหมอชาวบ้าน
Advertisements

Advertisements

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น