WHAT'S NEW?
Loading...

5 ท่าบริหารบรรเทาปวด...อาการรองช้ำ


Advertisements


5 ท่าบริหารบรรเทาปวด...อาการรองช้ำ

1. นอนคว่ำ นอนและขาเหยียดตรง ยกเท้าสูงประมาณ 8 นิ้ว ค้าง 5 วินาทีแล้วพัก ก่อนทำอีกข้าง ทำซ้ำ 15 เซ็ท
2. นอนตะแคงแนวตัวตรง ยกขาขึ้นจากพื้น 8-10 นิ้ว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วพัก ก่อนทำอีกข้าง ทำซ้ำ 15 เซ็ท
3. กลิ้งเท้าบนอุปกรณ์ที่หมุนได้ ลงน้ำหนักและทำประมาณ 3-5 นาที/ข้าง
4. ใช้ผ้าเช็ดตัวยืดเหยียดปลายเท้า ดึงผ้าเข้าหาตัว ค้าง 15-30 วินาที ทำซ้ำ 3 ครั้ง
5. ยืนดันกำแพง ให้เท้าที่มีปัญหาอยู่ด้านหลัง ดันค้างไว้สัก 15-30 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ


การบำบัดที่ดีต้องบำบัดจากภายใน ต้องทำด้วยตนเอง อยากหายต้องมีวินัย ทำยิ่งบ่อย ยิ่งดี โอกาสหายรอคุณอยู่

อย่าลืม!! ไลค์เพจ เพื่อไม่พลาดข้อมูลดีๆนะคะ

โรครองช้ำ คืออะไร?

โรครองช้ำ หรือโรคพังผืดส้นเท้าอักเสบ คือ การมีจุดปวดบนเท้า ส้นเท้า โดยเกิดจากการอักเสบหรือฉีกขาดของผังผืดฝ่าเท้าที่สัมพันธ์กับการเดินลงน้ำหนักที่เท้า

อย่าลืมกดไลท์เพจ...เพื่อไม่พลาดข้อมูลดีๆนะคะ

อาการของโรครองช้ำ

ที่พบบ่อยคือจะมีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า โดยเจ็บคล้ายๆกับมีของแหลมมาทิ่มและกล้ามเนื้อน่องจะมีอาการเกร็ง ซึ่งอาการเจ็บโรครองช้ำนี้จะเป็นมากช่วงเช้า หลังตื่นนอน

เมื่อก้าวเท้าก้าวแรก และจะมีอาการดีขึ้นเมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า แต่บางครั้งอาจจะปวดทั้งวัน หากยืนนานๆหรือเดินนานๆ
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงกับ โรครองช้ำ ได้แก่

- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- นักกีฬาที่ต้องใช้เท้ามาก ๆ เช่น นักวิ่ง
- ผู้ที่มีฝ่าเท้าแบน หรือมีส่วนโค้งของเท้ามาก
- ผู้ที่ใส่รองเท้าไม่พอดีกับรองเท้า
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง
- ผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ

วิธีดูแลรักษา โรครองช้ำ

เนื่องด้วย โรครองช้ำ ไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่หากเป็นแล้วก็สร้างความทรมานจากอาการปวดเท้าได้เช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การดูแลรักษาด้วยตัวเอง และแนวทางรักษาโดยแพทย์

การดูแลรักษาด้วยตัวเอง

1. หยุดกิจกรรมที่ต้องใช้เท้านาน ๆ หากเป็นการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ควรเลือกกีฬาที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่เท้ามากนัก เช่น การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาบนพื้นแข็ง
2. สวมรองเท้าส้นนิ่มขณะออกกำลังกาย โดยอาจใช้แผ่นรองเสริมอุ้งเท้า เพื่อลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้าที่กระทำกับพื้นรองเท้า และช่วยกระจายน้ำหนักขณะเดิน
3. ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง และยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
4. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าที่มีพื้นนุ่มส้นสูงกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย อย่าเกิน 1-2 นิ้ว และไม่ควรใส่รองเท้าที่แบนราบเสมอกัน
5. ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป เพราะหากน้ำหนักมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าก็ต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้รักษาหายช้า
6. ประคบด้วยความร้อน หรือความเย็น เพื่อรักษาการอักเสบของเอ็น โดยอาจใช้ยานวด นวดฝ่าเท้า หรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า

แนวทางการรักษาโดยแพทย์

1.รับประทานยา หากวิธีบำบัดเท้าข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะให้รับประทานยา เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด
2. ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้
3.ทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนลึก (อัลตร้าซาวด์) ดัดยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้า ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน
4.ใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อเท้ากระดกขึ้นในตอนกลางคืน หรือถ้าเป็นมากอาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน
5.ผ่าตัดเลาะพังผืด จะทำต่อเมื่อรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล แต่แพทย์ไม่ค่อยแนะนำวิธีนี้ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
6. ใช้แผ่นรองเท้าที่รองรับแรงกดทับ แผ่นรองแก้รองช้ำ ช่วยพยุงอุ้งเท้าเวลาเดินหรือวิ่ง ส่วนผู้ที่มีโครงสร้างเท้าเท้าผิดรูปควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรึกษาปัญหาและตัดแผ่นรองเท้าที่มีขนาด
เหมาะสม


Cr : Kapook
Cr : https://rhvillegas.wordpress.com/2012/11/12/1387/

Advertisements

Advertisements

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น