WHAT'S NEW?
Loading...

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆ และได้เงินคืนบางส่วน เมื่อผ่อนหมด


Advertisements

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆ และได้เงินคืนบางส่วน เมื่อผ่อนหมด

วิธีนี้หลายท่านคงรู้ดีอยู่แล้ว แต่พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่หลายๆคนอาจยังไม่รู้ และก้มหน้าก้มตาผ่อนธนาคารไปตามสเต็ป มาดูดีกว่าว่าต้องทำอย่างไรให้ผ่อนบ้านหมดเร็วสุดๆ



1. การผ่อนให้หมดไว คือ การรู้จักขอลดดอกเบี้ย

2. ได้เงินคืนบางส่วน คือ เงินประกัน ที่หลายคนถูกบังคับให้ทำตอนกู้ ซึ่งหลายธนาคารมักจะอ้างว่าต้องทำจะได้อนุมัติให้ผ่านง่ายขึ้น

- ผ่อนให้หมดไว คือการรู้จักขอลดดอกเบี้ย

ปกติสัญญามักจะบอกว่าห้ามปิด (โปะหนี้)ก่อน3 ปี  เราจึงใช้ช่องโหว่ตรงนี้มาขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารครับ โดยการบอกว่าขอลดดอกเบี้ย (หลังจากผ่อนครบ 3 ปี) ถ้าไม่ได้ เรามีแผนว่าจะ รีไฟแนนท์ไปธนาคารอื่น (หมายถึง เราจะให้ธนาคารอื่นมาโปะหนี้กับธนาคารเดิม แล้วเราไปเป็นหนี้ธนาคารอื่นแทน)  เมื่อบอกแบบนี้แล้วธนาคารจะพยายามรักษาลูกหนี้ไว้ โดยการ รีเทนชั่น (คือลดดอกเบี้ยให้)

วิธีการ

ไปติดต่อที่สาขา ที่คุณกู้  เพื่อเจรจาขอลดดอกเบี้ย  โดยวิธีการคุยให้คุณได้เปรียบคือ ขอลดดอกเบี้ยดื้อๆเลยครับ โดยให้เหตุผลแค่ว่า เพราะเราเป็นลูกค้าชั้นดี ไม่เคยมีประวัติชำระไม่ตรง และตอนนี้ผ่อนมาครบ 3 ปีแล้ว อยากขอลดดอกเบี้ย ถ้าไม่ได้จะตั้งใจว่าจะรีไฟแนนท์ เพราะไปเช็คดอกเบี้ย โฮมโลนสำหรับลูกค้าใหม่มาแล้ว 4-5 ธนาคาร แล้วดอกถูกกว่าที่จ่ายอยู่

จากนั้นพนักงานอาจจะถามคุณว่าสนใจที่ไหนอยู่ คุณก็แกล้งบอกไปซัก 1 ธนาคาร ที่ดอกต่ำที่สุดในกระดาษที่คุณจดมา  (แต่คุณต้องเช็คแล้วเขียนใส่กระดาษไปเลย ว่าดอกเบี้ยแต่ละธนาคารเท่าไหร่ 4-5 ที่ อย่างที่บอกจริงๆ ย้ำว่าต้องเช็คไปจริงๆ เพราะคุณจะต่อรองได้มาก ธนาคารจะรู้เรตของธนาคารอื่นอยู่แล้ว แค่แกล้งถามให้รู้ว่าคุณเช็คมาจริง คุณเอาจริง) จากนั้นธนาคารเค้าจะออฟเฟอร์ดอกเบี้ยใหม่ให้คุณ

ซึ่งก็ยังแพงกว่าของธนาคารที่คุณแจ้งไปเล็กน้อย  (เพราะเค้ารู้ว่า ถ้าคุณรีไฟแนนท์ คุณก็ต้องมีค่าใช้จ่าย และบางคนก็มองว่ายุ่งยาก ดอกเบี้ยลดให้แล้ว แต่ยังแพงกว่าหน่อย ลูกค้าส่วนใหญ่ก็โอเค ซื้อความสะดวก)  พอคุณได้ดอกเบี้ยใหม่ คุณก็ถามเค้าได้เลยว่า ดอกเบี้ยใหม่ เริ่มคิดให้ตั้งแต่เดือนไหน  (ผมกำลังหมายความว่า คุณสามารถไปติดต่อก่อนครบ 3 ปี ล่วงหน้าซัก 1-2 เดือนได้เลย)

**** ปล  ดอกเบี้ยของธนาคารอื่น 4-5 ธนาคารที่ผมให้เช็คและจดไปว่าที่ไหนต่ำสุด ให้คุณคำนวณว่าในระยะเวลาอีก 3 ปีที่จะผ่อนข้างหน้าต่ำสุด  ไม่ใช่ดูแค่ว่า 0% 3 เดือนแรก จากนั้น แพง  ให้คำนวณดูที่ 3 ปี  เพราะหลังจากนั้นทุกๆ 3 ปี คุณก็ใช้ช่องโหว่เดิมมาขอลดดอกเบี้ยได้อีก (จึงแนะนำให้ดูที่ 3 ปี) ทั้งนี้ทั้งนั้น ยอดหนี้ต้องเกิน 1 ล้านบาทตอนไปขอลดดอกเบี้ย (แล้วแต่ธนาคาร)

เพิ่มเติมให้ครับ  –> บางธนาคารก็ดูท่าทีเรานะครับ เพื่อประเมินว่าควรให้ดอกเบี้ยใหม่เท่าไหร่ ถ้าไม่รู้อะไรไปเลยก็จะได้ลดไม่เยอะ  เพื่อนผมเคยเจอแบบว่า พอพูดว่าจะรีไฟแนนท์ เค้าเช็คดูว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือป่าว จนเพื่อนผมต้องบอกว่า หนี้บัตรตั้งใจปิดก่อนรีไฟแนนท์อยู่แล้ว

เพราะรู้ว่าต้องใช้ในการพิจารณ์สินเชื่อบ้าน  ยังไงก็จะปิดอยู่แล้ว  เลยได้ลดดอกเบี้ยมาครับ ถ้าเค้ารู้ว่าเราไม่มีทางเลือกเป็นหนี้บัตรเครดิต อาจจะยากในการขอสินเชื่อจากธนาคารใหม่ ธนาคารก็อาจจะดึงเกมส์โดยไม่ลดให้ หรือลดให้ไม่มาก เพราะรู้ว่าที่จริงแล้วเราไม่มีทางเลือกน่ะครับ

ทางที่ดี ก่อนไปต่อรอง ควรชำระบัตรให้หมด หรืออย่างน้อยให้บัตรเครดิตของธนาคารนั้นเป็น 0 ไปรวมหนี้ไว้ที่บัตรของธนาคารอื่นก่อน

- ได้รับเงินคืน เมื่อผ่อนหมด

กรณีถ้าคุณโดนบังคับทำประกันพร้อมกู้ซื้อบ้าน และคุณได้ทำสัญญากู้บ้านเช่น ทำสัญญากู้บ้าน 30 ปี  แต่คุณผ่อนจริง 17 ปีหมด คุณสามารถติดต่อขอเคลมเงินประกันคืน โดยคุณให้เหตุผลกับธนาคารว่า คุณได้คุ้มครองแค่ 17 ปี ที่เหลืออีก 13 ปีไม่ได้มีการคุ้มครอง เพราะผ่อนบ้านหมดแล้ว ดังนั้นจึงขอเคลม 13 ปีที่ไม่ได้คุ้มครองคืนเป็นเงิน

**** ทั้งนี้เงินที่ขอเคลมคืนอาจจะไม่ได้มากนะครับ อาจจะไม่กี่หมื่น  สอบถามธนาคารได้เลยว่าได้คืนเท่าไหร่ และธนาคารอาจจะยื่นข้อเสนอว่าถ้าไม่รับคืนก็จะคุ้มครองต่อ (ซึ่งการคุ้มครองมักจะเป็นได้เงิน ถ้าเราตาย ส่วนใหญ่ธนาคารจะทำประกันแบบนี้ให้ เพราะเค้ากลัวว่าเราตายก่อนผ่อนบ้านหมด ซึ่งผู้ที่ได้ก็ไม่ใช่เรา แต่เป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญากรมธรรม์ )

ซึ่งถ้าเราให้เค้าคุ้มครองต่อ เราก็แจ้งชื่อผู้รับประโยชน์ใหม่ไปได้เลย เพราะผู้รับประโยชน์เก่าในกรรมธรรม์ก่อนที่เราจะปิดบ้านหมด คือธนาคาร ) ดังนั้นคุณสามารถลองชั่งน้ำหนักดูได้ว่า จะเคลมเอาเงินคืน หรือให้เค้าคุ้มครองต่อไป

ทั้งหมดนี้เป็น 2 ข้อง่ายๆที่ผมได้จากประสบการณ์ตัวเอง ประหยัดเงินไปได้หลายแสน




ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก สมาชิคพันทิป สมาชิกหมายเลข 1789217

  

Advertisements

Advertisements

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น