WHAT'S NEW?
Loading...

ถ้าจู่ๆก็มีก้อนนูนปูดขึ้นมาที่ข้อมือ เป็นอันตรายไหม รักษายังไง


Advertisements

ถ้าจู่ๆก็มีก้อนนูนปูดขึ้นมาที่ข้อมือ เป็นอันตรายไหม รักษายังไง


ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ Ganglion cysts

มีคนถามอยู่บ่อยว่า มีก้อนนูนปูดขึ้นมาที่ข้อมือ เป็นอันตรายไหม เกิดขึ้นได้อย่างไร ก้อนพวกนี้เป็นถุงน้ำที่ไม่อันตรายที่เกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณข้อมือ บางคนอาจจะมีก้อนแบบนี้เกิดขึ้นที่ข้ออื่นเช่นที่เท้าก็ได้

ก้อนถุงน้ำนี้อาจจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด หรือค่อย ๆ โตขึ้นช้า ๆ ก็ได้ โดยที่สาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนนี้ไม่ชัดเจนว่าจากอะไร




โดยส่วนใหญ่แล้ว ก้อนถุงน้ำนี้ไม่ทำให้มีอาการใดๆ และไม่จำเป็นต้องรักษา บ่อยครั้งที่จะสามารถหายไปได้เอง ส่วนในกรณีที่ต้องรักษามักจะเนื่องมาจากอาการปวด หรือเพื่อความสวยงาม

อาการ


ก้อนถุงน้ำที่พบจะมีลักษณะคือ
  • มีก้อนที่นูนขึ้นที่ข้อมือ หรือบริเวณข้อนิ้วก็ได้
  • ลักษณะก้อนจะกลม เรียบ และค่อนข้างแข็ง
  • ถ้าเอาไฟฉายส่องเข้าไปจะพบลักษณะโปร่งเนื่องจากมีของเหลวอยู่ภายใน (transillumination)


  • ขนาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามลักษณะของกิจกรรมที่ทำ หรือในบางท่าของข้อมือจะทำให้ใหญ่ขึ้น
  • ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเนื่องมาจากการกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้มีอาการปวด ชา หรือมือไม่มีแรง

สาเหตุ

สาเหตุไม่ที่ทำให้เกิดขึ้นไม่ชัดเจน แต่มีลักษณะที่ของเหลวภายในข้อโตออกมาโดยดันเยื่อหุ้มที่อยู่รอบ ๆ ข้อออกมา ภายในถุงน้ำจึงเป็นของเหลวที่เหมือนน้ำในข้อ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดถุงน้ำ

ถุงน้ำส่วนใหญ่พบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย โดยที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีการเกิดถุงน้ำคือ
  • ข้อเสื่อม การที่ข้อเสื่อมจะทำให้มีน้ำในข้อมากขึ้น และสามารถดันออกมาจนกลายเป็นถุงน้ำ
  • การบาดเจ็บของข้อและเส้นเอ็นที่มือและเท้า

การตรวจและการวินิจฉัย

ก้อนถุงน้ำลักษณะนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย แต่ในบางราย แพทย์อาจจะส่งตรวจ X-ray เพื่อดูว่ามีข้ออักเสบ หรือมีเนื้องอกในข้อหรือไม่ หรือในบางครั้งอาจจะมีการใช้เข็มดูดเอาของเหลวภายในออกมาดู

การรักษา

ส่วนใหญ่แล้วก้อนถุงน้ำพวกนี้ไม่อันตรายและไม่มีอาการเจ็บ จึงไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ แพทย์จะแนะนำให้ติดตามสังเกตอาการไปก่อน
แต่ถ้ามีอาการปวด หรือการขยับเคลื่อนไหวผิดปกติสามารถเลือกทางรักษาได้โดย

การใส่เฝือกอ่อน หรืออุปกรณ์เพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหว การใช้งานอาจจะทำให้ก้อนใหญ่ขึ้นได้ แพทย์จะใส่เฝือกอ่อน หรืออุปกรณ์เพื่อจะได้พักข้อมือ ซึ่งจะทำให้ถุงน้ำยุบลงได้ และจะทำให้ลดการกดทับเส้นประสาท ทำให้อาการปวดดีขึ้นได้


การเจาะดูดของเหลวออก ในบางรายแพทย์จะทำการเจาะดูดของเหลวออก โดยจะมีการฉีดยาชาบริเวณนั้น และจะใช้เข็มเจาะเข้าไปดูดของเหลวออกมาจากก้อนถุงน้ำ และอาจจะมีการฉีดสเตียรอยด์เข้าไป แต่ควรให้การรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ประมาณ 60% ของผู้ป่วยอาจจะมีก้อนถุงน้ำกลับขึ้นมาได้ใหม่ ซึ่งสุดท้ายอาจจะต้องให้การรักษาโดยการผ่าตัด



การผ่าตัด  
ในรายที่มีอาการปวดมาก การเคลื่อนไหวไม่สะดวก หรือในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเอาก้อนถุงน้ำดีออก โดยสามารถผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกและไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ในระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะตัดก้อนถุงน้ำและเอาส่วนที่ติดกับข้อออก และทำการเย็บปิด หลังผ่าตัดจะให้ยกแขนสูง 48 ชั่วโมงเพื่อลดบวม โดยอาจจะมีการบวม เจ็บ ขยับไม่สะดวกประมาณ 2-6 สัปดาห์ และอาจจะใส่เฝือกอ่อนเพื่อลดการขยับและลดอาการปวด รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อ


การดูแลตัวเอง

หากมีอาการปวด ควรลดการใช้งานมือข้างที่ปวด และสามารถใช้ยาลดอาการปวดทานได้เป็นครั้งคราว ไม่ควรกดก้อนให้ยุบลงเนื่องจากจะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น และมีการบาดเจ็บกับเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ได้


มีเพื่อนบอกว่า ถ้ายังไม่หาย ให้แผ่เมตตา แล้วจะหาย เค้าลองมาักับตัว 
หมอหมี งง เลย 0-0"  มีแบบนี้ด้วย

We Care

บทความจาก....Dr.Carebear Samitivej
Advertisements

Advertisements

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น