WHAT'S NEW?
Loading...

กินอาหารมันๆ กินเหล้าหนักๆ ระวังไขมันพอกตับ!


Advertisements

กินอาหารมันๆ กินเหล้าหนักๆ ระวังไขมันพอกตับ! Photo By schroederillustration.com

หมอหมีไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำว่าไขมันพอกตับ เพราะมันทำให้นึกว่าไขมันหุ้มอยู่ภายนอกเนื้อตับ แต่อันที่จริงแล้ว ไขมันมันแทรกเข้าไปในเนื้อตับไปเลย น่าจะเรียกไขมันในตับมากกว่า

เดี๋ยวนี้จะพบว่ามีไขมันพอกตับกันได้มากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรม การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทานแต่อาหารมัน ๆ ไม่ค่อยออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้พบโรคนี้กันได้มากขึ้นเรื่อย


ปกติสามารถมีไขมันที่ตับได้เป็นธรรมดา แต่ถ้าไขมันอยู่ในตับมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะเป็นภาวะที่มีไขมันพอกตับ ซึ่งอาจจะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้

โรคตับจากแอลกอฮอล์ Alcoholic Liver Disease (ALD)


พบว่ามากกว่า 90 % ของคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ มี fatty liver โดยมักจะพบในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ปานกลางถึงมาก  หรือแม้แต่คนที่ดื่มมาไม่นานแต่ว่าดื่มหนักก็พบได้เช่นกัน

พันธุกรรมมีส่วนในการเกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์ โดยส่งผลถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณจะรับได้ และเกี่ยวข้องกับโอกาสที่จะทำให้เกิดการติดแอลกอฮอล์ และพันธุกรรมอาจมีผลถึงความสามารถของตับในการที่จะเผาผลาญแอลกอฮอล์

ปัจจัยอื่นที่อาจจะส่งผลถึงการเกิดไขมันที่ตับจากแอลกอฮอล์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ C การที่มีธาตุเหล็กมากเกินไป อ้วน และอาหารมัน

โรคไขมันที่ตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD)


ภาวะนี้เป็นภาะวที่พบได้บ่อยมากอันหนึ่งของโรคตับเรื้อรัง อันที่จริงภาวะที่มีไขมันที่ตับไม่ได้เป็นเรื่องน่ากังวลถ้าหากว่าไม่มีการอักเสบหรือการทำลายเซลล์ตับ

สิ่่งที่เป็นอันตรายจากภาวะนี้คืออาจทำให้มีการทำลายเซลล์ตับอย่างถาวร จนเกิดแผลเป็นที่ตับ หรือ เป็นตับแข็ง ตับวายในทีุ่สุด นอกจากนี้ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับอีกด้วย

สาเหตุของไขมันพอกตับ


ส่วนใหญ่แล้วภาวะนี้จะพบในวัยกลางคน และมักจะพบในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน นอกจากนี้คนที่มีไขมันในเลือดสูง ก็จะพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้

มีปัจจัยที่อาจทำให้เกิดไขมันพอกตับ ได้แก่

สารอนุมูลอิสระ ที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์
มีการหลั่งสารโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ จากเซลล์ไขมัน ตับ และเซลล์อื่น ๆ
เกิดการตายของเซลล์ตับ
ยาบางชนิด
ไวรัสตับอักเสบ
โรคตับที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตัวเองหรือพันธุกรรม
น้ำหนักลดเร็วผิดปกติ
ภาวะทุพโภชนาการ

การวิจัยใหม่ ๆ พบว่า การมีแบคทีเรียในลำไส้มากเกินไป อาจจะสัมพันธ์กับการเกิดไขมันที่ตับได้

อาการของไขมันพอกตับ

ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีภาวะในระยะยาว เป็นปีหรือเป็นสิบปี อาจจะทำให้มีอาการได้แก่

อ่่อนเพลีย
น้ำหนักลด หรือไม่ค่อยอยากอาหาร
ไม่มีแรง
คลื่นไส้
ไม่ค่อยมีสมาธิ
นอกจานั้นอาจจะมีอาการ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี หรือใต้ชายโครงขวา ตับโต

แต่ถ้าหากอาการตับรุนแรงมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดภาวะตับแข็งได้ โดยเฉพาะในผู้ที่่ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ซึ่งจะทำให้มีอาการ ตัวบวม ดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง มีภาวะเลือดออกผิดปกติ


การวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ

ส่วนใหญ่จะพบไขมันพอกตับจากการตรวจอัลตราซาวน์ในการตรวจสุขภาพประจำปี ในบางคนทำการตรวจเลือดพบว่าค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ ซึ่งแสดงถึงมีการทำลายของเซลล์ตับ

การตรวจอื่น ๆ ที่จะช่วยในการวินิจฉัย

การตรวจเลือด
จะพบว่าค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ ตัวที่ใช้ตรวจนี้คือ alanine aminotransferase (ALT) หรือ aspartate aminotransferase (AST)

การตรวจอัลตราซาวน์
จะพบลักษณะผิวของเนื้อตับที่ไม่เรียบ ซึ่งเกิดจากการแทรกของไขมันเข้าไปในตับ


การตรวจชิ้นเนื้อตับ

เป็นการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด โดยการใช้เข็มเจาะเข้าไปในเนื้อตับ เพื่อนำชิ้นเนื้อของตับไปตรวจ



การรักษาภาวะไขมันพอกตับ

ไม่มีการรักษาที่เฉพาะสำหรับไขมันพอกตับ อย่างไรก็ตาม หากมีโรคประจำตัว เช่นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ให้ทำการรักษาควบคุมโรคประจำตัวนั้น


  • ในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะคนที่ดื่มหนัก ควรจะงดการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการเกิดตับแข็ง

  • ถ้าหากว่าน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรจะต้องค่อย ๆ ลดน้ำหนัก โดยไม่ควรลดเร็วเกินไป ควรลดในระดับ 1-2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เพราะมีวิจัยพบว่า ถ้าลดน้ำหนักได้เกินกว่า 9% ของน้ำหนักตัวจะช่วยทำให้ตับกลับมาเป็นปกติได้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ จำกัดปริมาณแคลอรีที่ได้รับ เลี่ยงการรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตปริมาณมาก ๆ เร็ว ๆ รวมทั้งขนมปัง ข้าว น้ำตาล
  • เลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น

  • มีการวิจัยถึงการใช้สารต้านอนุมูลอิสระและยาสำหรับเบาหวานที่อาจเข้ามาช่วยภาวะไขมันพอกตับได้แก่
Vitamin E
Selenium
Betaine
Metformin
Rosiglitazone
Pioglitazone

ลองปรึกษาแพทย์ถึงการใช้ยาเข้ามาช่วย และควรติดตามตรวจดูค่าการทำงานตับ และติดตามตรวจอัลตราซาวน์เป็นระยะ ๆ


ที่มา...Dr.Carebear Samitivej
Advertisements

Advertisements

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น