ดีมากๆ 20 สมุนไพรเยียวยาโรคระบบทางเดินหายใจ
ไข้หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกหรือเสมหะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน ไข้หวัดใหญ่ สำหรับปี พ.ศ.2553 นี้ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ยังคงอยู่ในกระแสที่ควรเฝ้าระวัง ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่มีไข้สูงมาก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย ท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น
ปอดอักเสบ อาการนี้มักเป็นในเด็กและผู้สูงอายุ เกิดจากการติดเชื้อที่ถุงลมในปอด ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกับหวัด แต่มีไข้สูง ไอ มีเสมหะมาก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
หอบหืด ฤดูฝนเป็นช่วงที่ดอกไม้หลายชนิดมีการผสมเกสร จึงทำให้มีละอองเกสรลอยอยู่ในอากาศมากเป็นพิเศษ ส่งผลให้ผู้ที่แพ้ละอองเกสรอาจหายใจเข้าไปจนเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก กระทั่งหอบหนัก
6 #สูตรจากหมอน้อยแห่งลพบุรี
หมอบุญยืน ผ่องแผ้ว หรือหมอน้อย เป็นหมอสมุนไพรผู้มีชื่อเสียงประจำคลินิกหนองบงการแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรี หมอน้อยสืบทอดความรู้การแพทย์พื้นบ้านจากปู่และพ่อ ซึ่งเป็นหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นได้ศึกษาเรื่องสมุนไพรเพิ่มเติมจากท่านเจ้าอาวาสวัดที่เคยบวชเรียนด้วย และจากหมอยาชื่อดังในละแวกจังหวัดใกล้เคียง
นอกจกานี้หมอน้อยยังเดินป่าเพื่อสำรวจและศึกษาสมุนไพรด้วยตัวเอง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรลำดับต้นๆ ของประเทศ
สูตรเยียวยาโรคระบบทางเดินหายใจของหมอน้อยมีดังนี้
• #มหัศจรรย์ผักบุ้งไทยคลายหวัด
นำผักบุ้งไทย 1 กำมือ ตำให้พอแตก จากนั้นผสมน้ำซาวข้าว 1 แก้ว คั้นรวมกัน กรองเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้าและเย็น หากเป็นหวัดมาก ให้เพิ่มการกินเป็นสามเวลาคือ ก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น
• #ว่านหางจระเข้ลดไข้
ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ 1 ใบ ล้างยางสีเหลืองออก จากนั้นหั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำสะอาด 1½ แก้ว กินทั้งน้ำและวุ้น ก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น
• #ใบย่านางถอนพิษไข้
หมอน้อยกล่าวว่า เราสามารถกินใบย่านางได้หลายวิธี แต่ที่นิยมมีดังนี้
วิธีที่ 1 นำใบย่านาง 1 กำมือ ตำให้ละเอียด แล้วต้มกับน้ำ 1 แก้ว กรองเอาแต่น้ำดื่ม
วิธีที่ 2 นำใบย่านาง 1 กำมือ กับน้ำซาวข้าว 1 แก้ว มาขยำรวมกัน กรองเอาแต่น้ำดื่ม
ทั้งสองวิธีนี้ให้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น
• #ต้นโทงเทงบรรเทาทอนซิลอักเสบ
ตำกิ่งต้นโทงเทง 1 กิ่งให้ละเอียด เติมน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูประมาณ ½ ช้อนชา นำมาอมแล้วค่อยๆ กลืนจนกว่าจะหมด สามารถกินได้วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการจะทุเลา
• #ใบกะเพราแก้ไอ
โขลกใบกะเพราประมาณ 7 ใบให้แหลก บีบมะนาว 1 ซีกเล็ก และใส่เกลือตัวผู้ลงไป 3 เม็ด นำมาอมหรือเคี้ยวแล้วกลืนช้าๆ สามารถกินได้วันละ 2-3 ครั้ง หากมีอาการเจ็บคอร่วมด้วยอาจตำกระเทียม 3 กลีบใส่เพิ่ม เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคบริเวณลำคอ
• #เหง้าตะไคร้ขับเสมหะ
นำตะไคร้ 1 เหง้า (บริเวณโคนต้นที่ติดกับราก) มาตำให้ละเอียด ผสมน้ำมะนาว 1 ลูก ใส่เกลือประมาณ ½ ช้อนชา คนให้เข้ากัน แล้วเทใส่ถ้วย จากนั้นใช้นิ้วชี้จุ่มน้ำที่ได้ แล้วล้วงกวาดให้ทั่วคอจนน้ำตะไคร้หมด จะช่วยขับเสมหะอีกทางหนึ่ง
เมื่อกล่วถึงยาสมุนไพรสำหรับหน้าฝน คุณหมอปราโมทย์กล่าวว่า เนื่องจากในฤดูฝน ร่างกายของคนเรามักเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากธาตุลมเป็นสำคัญ เมื่อเผชิญความเย็นจากฝนอีก ธาตุลมจึงยิ่งอ่อนแอ ทำให้เกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นไข้หวัดง่าย โดยเฉพาะหากบุคคลนั้นมีธาตุลมเป็นธาตุเจ้าเรือน สูตรสมุนไพรที่แนะนำให้ใช้คือ
• #ตำรับตรีกฎุก
ตำรับนี้เป็นยาสมุนไพรประจำหน้าฝนของทางการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยสมุนไพรรสเผ็ดร้อน 3 ชนิด ได้แก่ ขิงแห้ง พริกไทยขาวอบแห้ง และดีปลีแห้ง มีสรรพคุณช่วยปรับธาตุ เพิ่มความอบอุ่น และบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
วิธีการคือ นำขิง พริกไทย และดีปลีอย่างละ 1 กำมือ มาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร จนน้ำงวดเหลือ 1/3 ลิตร จากนั้นรินดื่มเฉพาะน้ำ ก่อนอาหารเวลาเช้าและเย็น
2 #สูตรจากหมอธีรศักดิ์แห่งวัดเขาน้อย
หมอธีรศักดิ์ เกษตรสินสมบัติ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และผู้ทรงคุณวุฒิประจำชมรมแพทย์แผนไทย (วัดเขาน้อย) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นอกจากหมอธีรศักดิ์จะให้คำปรึกษาเรื่องการใช้สมุนไพรรักษาอาการต่างๆ แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นครูสอนนักเรียนการแพทย์แผนไทย ของชมรมแพทย์แผนไทยด้วยเช่นกัน
#สูตรเยียวยาโรคระบบทางเดินหายใจที่หมอธีรศักดิ์แนะนำ
ได้แก่
• #ฟ้าทะลายโจรลดไข้และคออักเสบ
นำฟ้าทะลายโจร 5-7 ยอด มาล้างให้สะอาด เคี้ยวแล้วอมไว้ จากนั้นค่อยๆ กลืนน้ำที่ได้จนหมด รสขมจะเปลี่ยนเป็นรสหวาน ซึ่งช่วยแก้ไข้หวัดได้ดี โดยเฉพาะอาการคออักเสบ
เมื่อหายจากอาการต่างๆ แล้วควรหยุดกิน และไม่ควรกินในปริมาณมาก หรือกินเป็นเวลานาน เนื่องจากจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย
• #หนุมานประสานกายคลายคอเจ็บ
เด็ดใบต้นหนุมานประสานกายมา 1 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ค่อยๆ เคี้ยวใบยาช้าๆ แล้วกลืนน้ำที่ได้ลงไป ควรกินเมื่อรู้สึกเจ็บคอ และสามารถกินได้จนกว่าอาการจะทุเลาลง
2 สูตรจากเมืองเหนือของหมอคมเพชร
คุณคมเพชร บุญประคม หรือหมอคมเพชร เป็นหนึ่งในหมอพื้นบ้านประจำวิสาหกิจชุมชน ชมรมหมอเมืองเพื่อสุขภาพมวลชนเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
หมอคมเพชรสืบทอดความรู้การรักษามาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านในจังหวัดหนองบัวลำภู ทำให้มีความรู้ในการเก็บสมุนไพรมาทำยาตั้งแต่เด็ก เมื่อบวชเป็นพระได้ออกธุดงค์ไปยังประเทศลาว จึงมีโอกาสศึกษาวิธีรักษาแบบพื้นบ้านเพิ่มอีกหลายแขนง
#หมอคมเพชรแนะนำสูตรเยียวยาโรคระบบทางเดินหายใจไว้ดังนี้
• #มะนาวสลายเสมหะสูตรคลาสสิก
นำมะนาว 1 ลูกมาหั่นแว่นทั้งเปลือก ใส่ลงในครก จากนั้นแกะกระเทียม 1 หัวใส่ตามลงไป เติมเกลืออีก ½ ช้อนชา โขลกเบาๆ ให้เข้ากัน ตักส่วนผสมนั้นมาอม แล้วค่อยๆ กินน้ำทีละน้อยจนกว่าจะหมด สามารถกินส่วนผสมนั้นได้ หรือคายทิ้งตามต้องการ และทำกินได้จนกว่าอาการจะดีขึ้น
• #อบซาวน่าใบมะขามแก้อ่อนเพลีย
หมอคมเพชรกล่าวว่า การอบไอน้ำเป็นการขับพิษไข้ออกจากร่างกายทางหนึ่ง ซึ่งช่วยแก้อาการไข้ อ่อนเพลีย และเซื่องซึม
เคล็ดลับการทำตัวยาสำหรับอบคือ นำใบมะขามสดทั้งก้าน 3 กำมือ หอมเล็กบุบทั้งเปลือกพอแตก 3 หัว และกระเทียมบุบ 3 หัว นำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มกับน้ำ 1 หม้อจนเดือด
จากนั้นใช้ผ้าผืนใหญ่ เช่น ผ้าห่ม หรือผ้าถุง ห่มคลุมทั้งหม้อและตัวผู้อบ (ควรถอดเสื้อผ้าด้วย) หากคลุมถึงศีรษะได้จะยิ่งให้ผลดี อบไอน้ำนานประมาณ 10 นาที วันละ 1 ครั้ง
ผู้ป่วยดรคหัวใจและความดันโลหิตสูงไม่ควรทำวิธีนี้
1 #สุดยอดตำรับแก้หวัดจากกูรูชีวจิต
สำหรับการรักษาด้วยสมุนไพรแบบชีวจิตนั้น อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต ให้ความสำคัญกับศึกษายาสมุนไพรและยาพื้นเมืองของชาติต่างๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบันมาโดยตลอด เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานของการแพทย์แบบผสมผสาน
อาจารย์สาทิสได้แนะนำสูตรสมุนไพรและวิธีการใช้ไว้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะใช้การกินเป็นอาหาร ดื่มเป็นน้ำสมุนไพร หรือกินเป็นยาร่วมสำหรับใช้รักษาอาการต่างๆ
สูตรคลาสสิกของอาจารย์สาทิสคือ
• #ฟ้าทะลายโจร+#มะนาวแก้หวัด
อาจารย์สาทิสแนะนำว่า หากมีอาการเจ็บคอ ให้เด็ดยอดฟ้าทะลายโจรมาเคี้ยว 2 ยอดต่อ 1 ครั้ง แล้วกินวิตามินซี 500 มิลลิกรัมควบคู่ไปด้วย โดยกินเวลาเช้า กลางวัน และเย็น
หากมีอาการหวัดเพิ่ม ให้กินแคปซูลฟ้าทลายโจรมื้อละ 3 เม็ด เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ควบคู่ไปกับการกินวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม เช้า กลางวัน และเย็น
นอกจากนี้ หากหายใจแล้วมีกลิ่นคาวและเค็มคล้ายเริ่มเป็นหวัด หรือมีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย ควรนอนพักผ่อนให้เต็มที่ ทำตัวและใจให้สบาย จากนั้นกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ วันละ 4-5 ครั้ง และดื่มน้ำมะนาวคั้นสดโดยไม่ใส่น้ำตาล วันละ 2 แก้ว
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 285 รายปักษ์ 16 สิงหาคม 2553
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.cheewajit.com//shiny
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น